ฐานข้อมูลงานวิจัย

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

ชื่อบทความ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล Thai Journal Citation Index (TCI) : ศักยภาพการตลาดการค้าชายแดนไทย-เมียนมาภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สาขาบทความ : กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ
ศักยภาพการตลาดการค้าชายแดนไทย - เมียนมาภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2 (6), 343-362. รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะผลดันการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย มีการวางแนวทางการทำงานแบบบูรณาการในทุกภาคส่วนที่มุ่งเน้นการให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานภาคร ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพ้ืนที่ เพื่อเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจการค้าตามแนว ชายแดน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาสภาพการณ์ ของการค้าชายแดน ไทย-เมียนมา บริเวณจุดผ่อน ปรนทั้ง 5 จุดภายหลังโควิด-19 (2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการเป็ดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนเป็นจุดผ่านแดน ถาวร และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ในแต่ละจุดผ่อนปรน งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) คือจาก ผู็นำชุมชน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการและผู้ประกอบการบริเวณจุดผ่อนปรนทั้ง 5 จุด โดยใช้วิธีการเลือก กลุ่มตัวอย่างเป็นเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์มูลด้วยการวิเคราะห์ เนื้อ หาและนำเสนอเชิงพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่าจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนที่มีสภาพการณ์เหมาะสมใน การค้าขายสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ผู็ประกอบการส่วนมากมีทั้งชาวไทยใหญ่และชาวเมียนมาที่เดินทางมา ค้าขายในประเทศไทย โดยเช้าไปเย็นกลับ และสามารถสื่อสารได้สองภาษา (ภาษาไทยใหญ่ ภาษาพม่า) จึง สามารถสื่อสารกันได้ดี และในปัจจุบันสภาวะทางการค้าสามารถกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ จากผลงานวิจัยยัง พบวว่าจุดผ่อนปรนที่มีความเป็นไปได้ในการผลักดันเปนจุดผ่านแดนถาวร คือจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านห้วย ต้นนุ่น อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีศักยภาพ สภาพการณ์ที่ดีและเหมาะสมที่สุด ได้แก่ มีโครงสร้าง พื้นฐานและการคมนาคมขนส่งสะดวก ผู้ประกอบการในพื้นที่มีศักยภาพสูง การศักยภาพและแนวทางในการ

ผู้แต่ง : สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์

ผู้แต่ง(ร่วม) ธีว์วรา ไหวดี, และจักรพงษ์ สุขพันธ์.

ปีที่เผยแพร่ : 2565

ได้รับการสนับสนุน/ต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สถานที่จัดเก็บ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ไฟล์ .pdf : เปิดไฟล์บทความ

จำนวนการอ่าน 110 ครั้ง