ฐานข้อมูลงานวิจัย

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

ชื่อบทความ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ระดับชาติ : การพัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบนพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สาขาบทความ : กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบนพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน, การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 8, 687-699. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาบริบทของวัฒนธรรมพื้นถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสื่อมถอยและเหตุปัจจัยแห่งความเสื่อมถอย และ (2) เพื่อจัดทำ ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลที่จำเป็นรวบรวม ได้จากบุคลากรของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดและคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัด รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น และนักวิชาการอิสระด้านวัฒนธรรมโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเฉพาะ และการพบปะสนทนา แบบไม่เป็นทางการเป็นเครื่องมือ ข้อมูลที่รวบรวมได้แยกทำการวิเคราะห์เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบริบท ของวัฒนธรรมพื้นถิ่นวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนที่สองเป็นข้อมูลจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่มีผลต่อการจัดทำยุทธศาสตร์วิเคราะห์ด้วย SWOT Analysis ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน กว่า 720 ปี มีวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ภาษา การแต่งกาย การประกอบอาหาร การละเล่นการแสดง ประเพณี และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมดังกล่าวมีความเสื่อมถอยตามกาลเวลาด้วยเหตุปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอกหลายปัจจัย กรณีของยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่น ของ 2 จังหวัด ประกอบด้วย (1) ยุทธศาสตร์การทำนุบำรุงวัฒนธรรมพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2) ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน (3) ยุทธศาสตร์การสืบสาน วัฒนธรรมพื้นถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน แต่ละยุทธศาสตร์มีกลยุทธ์สำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินการ 0eนวน 5, 5 และ 4 กลยุทธ์ตามลำดับ

ผู้แต่ง : ปัทมา รัตนกมลวรรณ

ผู้แต่ง(ร่วม)

ปีที่เผยแพร่ : 2565

ได้รับการสนับสนุน/ต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สถานที่จัดเก็บ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ไฟล์ .pdf : เปิดไฟล์บทความ

จำนวนการอ่าน 115 ครั้ง