ฐานข้อมูลงานวิจัย

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

ชื่อบทความ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ระดับชาติ : การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิดของครูและนักเรียน โรงเรียนเครือข่ายการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สาขาบทความ : กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิดของครูและนักเรียน โรงเรียนเครือข่ายการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ใน รายงานสืบเนื่องจากการ การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2022 iHappiness: ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล” ครั้งที่ 4 (น.1107-1116). 31 สิงหาคม, 2565. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การวิจัยดำเนินการเป็น 3 ระยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดกิจกรรมด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิดของครูและนักเรียน โรงเรียนเครือข่ายการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพของวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริม ศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิด 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริม ศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิด กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนกิจกรรมลดเวลา เรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนเครือข่ายฯ จำนวน 19 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง และนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเครือข่ายฯ จำนวน 90 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิด 2) แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ และ 3) แบบวัดศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิต รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ประเมินความต้องการจำเป็นตามสูตร (Priority Need Index: PNIModifiedX) และการหาค่าสถิติ ttest ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 2) รูปแบบการส่งเสริม ศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิด ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการของรูปแบบ 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม แบ่งเป็น 7 ขั้น (1) ขั้นนไเสนอ สถานการณ์(2) ขั้นคิดพิจารณา (3) ขั้นคิดสงสัย (4) ขั้นสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด (5) ขั้นน าเสนอความคิด (6) ขั้นสรุปความคิดร่วมกัน และ (7) ขั้นสะท้อนคิด 4. บทบาทผู้เรียน 5. บทบาทครู และ 6. สิ่งอำนวยความ สะดวก มีความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้าน วิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิด นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผู้แต่ง : นวพร ชลารักษ์

ผู้แต่ง(ร่วม) ภัสราภรณ์ นันตากาศ, รินทร์ลภัส ศิรินพวัฒน์.

ปีที่เผยแพร่ : 2565

ได้รับการสนับสนุน/ต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สถานที่จัดเก็บ : การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2022 iHappiness: ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล” ครั้งที่ 4 (น.1107-1116). 31 สิงหาคม, 2565. กรุงเทพฯ: มห

ไฟล์ .pdf : เปิดไฟล์บทความ

จำนวนการอ่าน 113 ครั้ง