ฐานข้อมูลงานวิจัย

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

ชื่อบทความ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ระดับชาติ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพฤกษศาสตร์ พื้นบ้านและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สาขาบทความ : กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพฤกษศาสตร์ พื้นบ้านและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอจังหวัดแม่ฮ่องสอน. รายงานสืบเนื่องจาก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1. เพื่อสนองพระราชดำริในการอนุรักษ์พันธ์กรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ2. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพฤกษศาสตร์ พื้นบ้านและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอจังหวัดแม่ฮ่องสอนส าหรับของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อ การอนุรักษ์พันธุกรรมพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอจังหวัดแม่ฮ่องสอนของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 4.เพื่อให้นักเรียนมี ส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุกรรมพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอจังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนทั้งหมด 5 โรงเรียน จำนวน 33คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย รูปแบบการ จัดการเรียนรู้ แบบประเมิน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้สนองพระราชดำริในการอนุรักษ์พันธ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการการอนุรักษ์พันธุกรรม พฤกษศาสตร์พื้นบ้านและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติ พันธุ์ปกาเกอะญอจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ จากความหลากหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอจังหวัดแม่ฮ่องสอนสำหรับของ นักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 คือ AVOCADO MODEL มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ Avocado for Life (อะโวคาโด สำหรับชีวิตเรา) Valuable Avocado (คุณค่าของอะโวคาโด) Oil from Avocado (น้ำมันจากโวคาโด ) Creative

ผู้แต่ง : รินทร์ลภัส ศิรินพวัฒน์

ผู้แต่ง(ร่วม) นครินทร์ พริบไหว, บุษยา เทอดธรรมไพรศาล, พัชราภรณ์ วิมาลัย.

ปีที่เผยแพร่ : 2565

ได้รับการสนับสนุน/ต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สถานที่จัดเก็บ : การประชุมทางวิชาการระดับชาติ (Proceeding) ครั้งที่ 11. “Culture Service logistics in the Ecosystem” ณ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี. 396-414.

ไฟล์ .pdf : เปิดไฟล์บทความ

จำนวนการอ่าน 115 ครั้ง