ฐานข้อมูลงานวิจัย

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

ชื่อบทความ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ระดับชาติ : การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลปางหมู

สาขาบทความ : กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลปางหมู. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 3 ประจำปี 2565, 1175-1188. การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลปางหมูมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบ สารสนเทศผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลปางหมู 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งานระบบสารสนเทศผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลปางหมูกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองการวิจัยคือ ผู้ประกอบการที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่อาศัยอยู่ในตำบลปางหมู โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตาม สะดวก จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตำบลปางหมูที่พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ Wordpress 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลปางหมูที่ พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานและมีผลความพึงพอใจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 69.05 รองลงมาคือเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 30.95 มีอายุอยู่ ในช่วง 51 – 60 ปี คิดเป็น 42.86 รองลงมาคืออายุ 61-70 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.80 และ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 11.11 ตามลำดับ อาชีพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอาชีพอื่นๆ เช่น แม่ค้า ข้าราชการบำนาญ ช่างทำผม ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 33.20 รองลงมาคืออาชีพเกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 30.60 และอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 27.80 ตามลำดับ ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจการต่อใช้ระบบสารสนเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบสารสนเทศภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลปางหมู ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.51 เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจใน ประเด็นความสามารถในการแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลปางหมูมีค่าเฉลี่ย 4.75 ระดับดีมาก รองลงมาคือประเด็นความ น่าเชื่อถือได้ของระบบ มีค่าเฉลี่ย 4.58 อยู่ในระดับดีมากและประเด็นความสามารถในการแสดงข้อมูลวีดีโอผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตำบล ปางหมูความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบ มีค่าเฉลี่ย 4.53 ระดับดีมากตามลำดับ

ผู้แต่ง : พุทธชาติ ยมกิจ (ผู้วิจัยร่วม)

ผู้แต่ง(ร่วม) ธนกฤต สุธรรม

ปีที่เผยแพร่ : 2565

ได้รับการสนับสนุน/ต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สถานที่จัดเก็บ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ไฟล์ .pdf : เปิดไฟล์บทความ

จำนวนการอ่าน 136 ครั้ง