ฐานข้อมูลงานวิจัย

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

ชื่อบทความ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล Thai Journal Citation Index (TCI) : การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้นิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สาขาบทความ : กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ
การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้นิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(41), 133-144. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมและจัดประเภทนิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ศึกษาวิเคราะห์ ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี วิถีชีวิต และบทบาท ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน และ 3) สร้างหลักสูตรท้องถิ่นโดยการใช้นิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ นิทานพื้นบ้านและแผนการสอน จำนวน 8 แผน ผลการวิจัยพบว่า 1) นิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นิทานเกี่ยวกับสัตว์มีมากที่สุด จำนวน 17 เรื่อง นิทานท้องถิ่น 15 เรื่อง นิทานปรัมปรา 10 เรื่อง นิทานเทพนิยาย 7 เรื่อง และนิทานตลกขบขันมีน้อยที่สุด จำนวน 1 เรื่อง 2) ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี วิถีชีวิต และบทบาท ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อาทิ ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อเรื่องโชคชะตา ความเชื่อเรื่องอมนุษย์ ค่านิยมเรื่องความรัก ค่านิยมเรื่องความขยัน ค่านิยมเชื่อฟังผู้ใหญ่ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต วิถีชีวิตเกี่ยวกับ การตั้งถิ่นฐาน ลักษณะบ้านเรือน การคมนาคม เครื่องมือเครื่องใช้ และอาหารพื้นบ้าน เป็นต้น 3) หลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้นิทาน พื้นบ้านชนชาติพันธุ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีคุณภาพเหมาะสม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้วิจัยได้ยึดคำอธิบาย รายวิชาเพิ่มเติม ท 16201 นิทานพื้นบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์ เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะคำอธิบายรายวิชาต้องการให้ผู้เรียนศึกษานิทานเพื่อให้เห็นสาระต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในนิทานพื้นบ้าน เช่น สำนวน ภาษา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความรู้สึกนึกคิด ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพท้องถิ่นและเห็นคุณค่าของนิทานพื้นบ้าน

ผู้แต่ง : ภัสราภรณ์ นันตากาศ

ผู้แต่ง(ร่วม) รินทร์ลภัส ศิรินพวัฒน์

ปีที่เผยแพร่ : 2565

ได้รับการสนับสนุน/ต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สถานที่จัดเก็บ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ไฟล์ .pdf : เปิดไฟล์บทความ

จำนวนการอ่าน 181 ครั้ง