ฐานข้อมูลงานวิจัย

วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

ชื่อบทความ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล Thai Journal Citation Index (TCI) : การพัฒนาการใช้ภาษาบนฉลากผลิตภัณฑ์สินค้าท้องถิ่นเพื่อการดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

สาขาบทความ : กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ
การพัฒนาการใช้ภาษาบนฉลากผลิตภัณฑ์สินค้าท้องถิ่นเพื่อการดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาโน้มน้าวใจและเปรียบเทียบ การใช้ภาษาระหว่างฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น OTOP ระดับ 1-2 ดาวและระดับ 3-5 ดาว 2) เพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการ ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวต่างชาติบนฉลากผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 1-2 ดาว ผู้วิจัยเก็บข้อมูล ฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นประเภทอาหารจากศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 25 แห่ง จำ นวน 50 ฉลาก ประกอบด้วยฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 1-2 ดาว จำนวน 25 ฉลากและฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ระดับ 3-5 ดาว จำนวน 25 ฉลาก ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการนำเสนอข้อความทั้งแบบอวัจนภาษา และวัจนภาษา การวิแคราะห์ข้อความ อวัจนภาษาปรากฏภาพที่เป็นภาพจริงและภาพกราฟฟิก ฉลาก ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นทั้งระดับ 1-2 ดาว และระดับ 3-5 ดาว ใช้ภาพกราฟฟิกมากกว่าภาพจริง ส่วนการ ใช้สีพบว่า ใช้สีกลมกลืนมากกว่าสีเอกรงค์และสีตรงข้าม ขนาดตัวอักษรใช้แบบไล่ระดับขนาดตัวอักษร นอกจากนี้ฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 3-5 ดาว มีเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายรับรอง การค้ามากกว่าฉลากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นระดับ 1-2 ดาว ส่วนข้อความวัจนภาษา พบว่า กลวิธีการขยาย ความปรากฏการใช้คำ คุณศัพท์และคำ กริยาวิเศษณ์บนฉลากผลิตภัณฑ์องถิ่นระดับ 3-5 ดาวมากกว่า ฉลากผลิตภัณฑ์องถิ่นระดับ 1-2 ดาว กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรมปรากฏการใช้วาทกรรม บอกเล่าและการกล่าวเกินจริงมากกว่าบนฉลากผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาว กลวิธีทางวาทศิลป์ พบว่า มีการใช้คำ ขวัญทั้งบนฉลากผลิตภัณฑ์ทั้งในระดับ 1-2 ดาว และ 3-5 ดาว และกลวิธีทางศัพท์ปรากฏการ ใช้คำ บุพบทและคำ กริยาในรูปของ infinitive with to บนฉลากผลิตภัณฑ์

ผู้แต่ง : ปรภัทร คงศรี

ผู้แต่ง(ร่วม)

ปีที่เผยแพร่ : 2564

ได้รับการสนับสนุน/ต้นสังกัด : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สถานที่จัดเก็บ : วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน

ไฟล์ .pdf : เปิดไฟล์บทความ

จำนวนการอ่าน 146 ครั้ง